การใช้ประโยชน์ทางยา ของ โกฐจุฬาลัมพา (สกุล)

มาลาเรีย

สารอาร์เทมิซินิน (artemisinin) (จาก Artemisia annua) และอนุพันธ์เป็นกลุ่มของสารประกอบที่ออกฤทธิ์เร็วของสารที่ใช้ในปัจจุบันทั้งหมดที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย[17] โดยเฉพาะการบำบัดโรคมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ในงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้ใบแห้งทั้งใบของโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมของสารอาร์เทมิซินิน[18] ดีกว่าและอาจรวมทั้วทำให้การดื้อยาพัฒนาช้ากว่าการให้สารอาร์เทมิซินินบริสุทธิ์ [19] ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกไม่สนับสนุนการส่งเสริมหรือการใช้วัสดุทางยาจากโกฐจุฬาลัมพา (Artemisia) ในทุกส่วนของพืชสำหรับการป้องกันหรือรักษาโรคมาลาเรีย ด้วยว่ารูปแบบการใช้สรรพคุณยาของพืชโดยตรงมีปัญหาหลายประการ ได้แก่ การขาดความคงที่ของเนื้อยา การมีเนื้อยาที่ไม่พอเพียงทำให้เกิดโรคมาลาเรียขึ้นอีก ซึ่งการใช้ยาในรูปพืชอาจนำไปสู่การดื้อยาในวงกว้าง และอาจไม่ได้ผลในการป้องกันโรคมาลาเรีย[20][21] แหล่งสารอาร์เทมิซินินที่ไม่ใช่เภสัชภัณฑ์ เช่น น้ำผลไม้ ชา และยาต่าง ๆ อาจให้ยาใต้ผิวหนังซึ่งอาจทำให้การดื้อยารุนแรงขึ้น[22]

พยาธิ

หุยเฮา (Artemisia cina) และโกฐจุฬาลัมพาชนิดอื่น ๆ ที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟโฟร-ยูเรเชีย เป็นแหล่งที่ดีของสารแซนโทนินที่มีฤทธิ์ต้านพยาธิ

ประสาทวิทยา

พบว่าอิงทิ้ง (Artemisia capillaris) มีผลกดประสาทและสะกดจิตในหนูทดลอง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางผ่านการกระตุ้นของ GABAA receptor- Cl− ion channel complex

หยินเฮา (Artemisia austriaca) มีผลดีในการลดอาการถอนตัวของมอร์ฟีนในหนู[23]

แพทย์แผนจีน

เฮียเฮียะ (Artemisia argyi) ใช้ในยาจีนโบราณ สัมพันธ์กับการรักษาตับ ม้าม และ ไต[24]ใบใช้เป็นยาแก้ไอขับเสมหะ[25]ใช้เป็นยาห้ามเลือด บรรเทาปวด[26] และอาจใช้ลักษณะการรมยา (moxibustion) ในรูปกรวยหรือแท่ง หรือเป็นลูกกลมอัดที่เสียบไว้กับปลายเข็มฝัง[27]

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โกฐจุฬาลัมพา (Artemisia annua) ได้รับการพิจารณาความเป็นไปได้ในการเป็นยารักษาสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)[28] ทั้งนี้ ณ เดือนมิถุนายน 2563 ยังไม่มีหลักฐานว่าโกฐจุฬาลัมพา (A. annua) สามารถรักษาหรือป้องกัน COVID-19 ได้[29] อย่างไรก็ตามในเดือนเมษายน 2563 ประเทศมาดากัสการ์เริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มสมุนไพรโกฐจุฬาลัมพาในชื่อ Covid-Organics[30] ในเดือนมิถุนายน 2564 การวิจัยสารสกัดรวมในน้ำร้อนของใบโกฐจุฬาลัมพาทั้งสดและแห้ง อาจมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโควิดทั้งสายพันธุ์แอฟริกาและอังกฤษ[31][32]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โกฐจุฬาลัมพา (สกุล) http://www.ville-ge.ch/musinfo/bd/cjb/africa/detai... http://acupuncturetoday.com/herbcentral/mugwort_le... http://www.britannica.com/eb/article-9009683/Artem... http://www2.hawaii.edu/~eherring/hawnprop/art-aust... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12350234 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25561559 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32046156 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33716085 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/9210658 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC130036